นาฬิกายาม แบบระบบดิจิตอลจะมีข้อดีกว่านาฬิกายามรุ่นเก่าที่ใช้กุญแจไข ในหลายๆด้าน ไม่ว่าจะเป็น ความละเอียด ในการแสดงข้อมูลในการบันทึกเวลา ณ.จุดต่างๆ การแยกวันที่ในแต่ละวันออกจากกัน อย่างสิ้นเชิง ทำให้ไม่สับสน (ถ้าเป็นนาฬิกายามรุ่นเก่า ความละเอียดจะค่อนข้างต่ำ และไม่มีการระบุ เดือนและปีที่บันทึก ทำให้เมื่อครบรอบหนึ่งเดือน จะทำให้เกิดความสับสนว่าเป็นของเดือนไหน) แบบระบบดิจิตอล จะมีการ ระบุ หมายเลขเครื่องที่ใช้ในการบันทึก มีการแสดง จุดที่ วันที่ เดือน ปี และจำนวนครั้งที่บันทึก นาฬิกายามแบบระบบดิจิตอล ยังมีข้อเด่นกว่านาฬิกายามรุ่นเก่าในด้านความประหยัด นาฬิกายามรุ่นเก่าที่ใช้กุญแจไขนั้น จะใช้กระดาษคาร์บอนในการบันทึกเวลา ซึ่งเราจะต้องคอยซื้อมาเปลื่ยนใหม่อยู่เรื่อยๆ เมื่อเราใช้ม้วนเก่าหมด และเนื่องจาก ไม่สามารถใช้อย่างอื่นมาแทนกระดาษคาร์บอนในการบันทึกเวลาของนาฬิกายามรุ่นเก่าได้ จึงเป็นการเสียเงินค่าซัพพลายอย่างที่ไม่มีวันจบสิ้น และเนื่องจากกระดาษคาร์บอนเป็น กระดาษที่ถูกผลิตขึ้นมาเพื่อใช้งานกับ นาฬิกายามรุ่นเก่าเท่านั้น จึงทำให้มีราคาสูง เมื่อเทียบกับกระดาษอื่นๆ ที่สามารถใช้กับอย่างอื่นได้ และสามารถหาซื้อได้ทั่วไป
นาฬิกายาม แบบระบบดิจิตอลใช้กระดาษม้วน แบบเดียวกันกับใช้ในเครื่องคิดเลขทั่วไป จึงมีราคาถูกกว่ามาก และสามารถหาซื้อได้ทั่วไป ประกอบกับ นาฬิกายามรุ่นเก่า ต้องใช้ถ่านไฟฉาย ในการป็นพลังงานจ่ายให้กับตัวเครื่อง ซึ่งต้องคอยเปลื่ยนอยู่เรื่อยๆ สำหรับ แบบระบบดิจิตอล ใช้แบตเตอรี่ชาร์จ ในการเป็นพลังงานจ่ายให้กับตัวแท่งบันทึกเวลา (DATA COLLECTOR) เมื่อพลังงานใกล้หมดจะมีไฟเตือน และมีเสียงเตือน เมื่อนำไปชาร์จ ก็สามารถนำกลับมาใช้ได้ใหม่ ซึ่งสามารถใช้งานได้ถึง 14 วันต่อการชาร์จ 1ครั้ง ในการบันทึกเวลา สำหรับนาฬิกายามรุ่นเก่า ที่ใช้กุญแจไข เราจะต้องนำกุญแจไปติดตั้งยังจุดต่างๆที่ต้องการให้ยามเดินไปตรวจ ซึ่ง ลักษณะของกุญแจจะเป็นโซ่คล้องกับลูกกุญแจ ซึ่งการไปติดตั้งที่หน้างานนั้น ก็ต้องโดนทั้งแดดโดนทั้งฝน ซึ่งเมื่อใช้ไปนานๆ ตัวโซ่ก็อาจจะเกิดเป็นสนิมได้ แลดูไม่สวยงาม สำหรับ แบบระบบดิจิตอล นั้น ใช้จุดสถานี หรือที่เราเรียกกันว่า (STATION NUMBER) ในการให้แท่งบันทึกเวลา (DATA COLLECTOR) ทำการอ่านรหัส ณ.จุดต่างๆ ซึ่งตัวจุดสถานีที่ว่านี้ จะมีขนาดเล็ก ดูดี ทันสมัย สามารถติดตั้งได้ง่าย และไม่ว่าจะโดนแดด โดนฝนซักเท่าไหร่ก็ไม่มีทางเป็นสนิม เพราะผลิตจากวัสดุ ไฟเบอร์สังเคราะห์ อย่างดี สำหรับระบบการทำงานของนาฬิกายามสองรุ่นนี้ก็ต่างกัน นาฬิกายามรุ่นเก่า ทำงานด้วยระบบ อานาล็อก เป็นลักษณะกลไกลขับเคลื่อนเวลา เหมือนนาฬิกาติดผนังที่เราใช้กันอยู่ทุกวัน เพียงแต่เพิ่มกลไกล ในส่วนที่สามารถ บันทึกเวลาลงบนกระดาษคาร์บอนลงไปเท่านั้น และเนื่องจาก นาฬิกายามรุ่นเก่าทำงานด้วยระบบกลไกล จึงทำให้เกิดการสึกหรอต่อชิ้นส่วนต่างๆได้ง่าย เมื่อใช้งานไปนานๆ การสึกหรอของชิ้นส่วนต่างๆ ก็ย่อมเกิดขึ้นและส่งผลให้เกิดอาการเสียในรูปแบบต่างๆ สำหรับ นาฬิกายาม แบบระบบดิจิตอล การทำงานจะเป็นระบบการอ่านรหัส คล้ายๆกับที่เราเคยเห็นบัตรพนักงาน ที่ไม่ต้องรูด เพียงแต่นำไปทาบที่ตัวเครื่อง ก็สามารถบันทึกเวลาการเข้ามาทำงานได้ เราเรียกระบบนี้ว่า (พร็อกซิมิตี้) สำหรับ นาฬิกายามแบบระบบดิจิตอล เราเพียงแค่นำตัวแท่งบันทึกเวลา (DATA COLLECTOR) ไปทาบที่ตัวจุดสถานี (STATION NUMBER) ก็สามารถบันทึกเวลาได้ โดยไม่มีการสึกหรอของชิ้นส่วนใดๆเลยแม้แต่นิดเดียว